ในช่วงแรกของการไปเรียนภาษา หรือเรียนต่อต่างประเทศนั้น น้องๆ บางคนอาจจะพบกับปัญหาภาวะ Culture Shock หรือไม่คุ้นชินกับวัฒนธรรมของประเทศที่ไปนั้นๆ โดยเฉพาะเป็นการไปครั้งแรกที่ต้องออกจากบ้านไปอยู่ในที่ไกลๆ อาจจะมีความไม่เข้าใจการใช้ชีวิตของผู้คนที่นั่น ชาวออสซี่มักจะใช้ชีวิตแบบชิลๆ สบายๆ ไม่ได้มีพิธีรีตองมากนัก ซึ่งแตกต่างจากชาวเอเชียที่ล้วนแต่ได้รับการอบรมมาให้อยู่ในกรอบวัฒนธรรม พิธีการต่างๆ วันนี้ Si-English จะมา แนะนำวิธีปรับตัว ใช้ชีวิตในประเทศออสเตรเลีย และรับมือกับปัญหาเหล่านั้น ไปดูเทคนิคดีๆ กันเลยค่ะ!
ภาวะ Culture Shock คืออะไร
Culture Shock ก็คืออาการที่ร่างกาย จิตใจ ปรับตัวไม่ทันกับสภาพแวดล้อมที่พบเจอ ในกรณีนี้ ขอยกตัวอย่าง การที่ไปเรียนต่อในต่างประเทศ คอร์สระยะสั้น หรือระยะยาว ก็สามารถเกิดภาวะ Culture Shock ได้ หลายๆ คนอาจจะทราบว่าวัฒนธรรมของต่างประเทศมีหลายๆ สิ่งที่ต่างจากประเทศไทย สิ่งเหล่านี้ไม่ได้มีบอกในตำรา หกแต่ต้องไปพบเจอกับประสบการณ์จริงๆ กับตนเอง จะแปลกมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความคุ้นเคยของแต่ละคน เช่น การขึ้นรถเมล์ต้องทักคนขับ และคนขับก็จะทักเรา พอลงก็ต้องกล่าวคำขอบคุณ ซึ่งต่างกับประเทศไทยอย่างสิ้นเชิง ที่แค่ขึ้นรถเมล์ทันโดยปลอดภัยก็นับว่าโชคดีมากแล้ว หรือ การใช้ส้อมตักข้าว บางคนกินอิ่มก็ไม่กินน้ำเลย จะกินทีหลัง (ประมาณ 1 ชั่วโมง) แต่คนไทยต้องมีน้ำด้วยตลอด
อาการของภาวะ Culture Shock แบ่งเป็นระยะ ได้ดังนี้
- ระยะเริ่มต้น : เมื่อแรกไปอยู่ น้องๆ ก็ย่อมรู้สึกว่าอะไรก็ดีไปหมด รู้สึกชอบทุกสิ่งอย่างที่อยู่รอบๆ ตัว ความมีอิสระ เสรี มีความสุขกับที่ใหม่ ไปเที่ยวตามใจ ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ตื่นตาตื่นใจกับประเทศ บ้านเมือง อาการนี้จะเกิดขึ้นในช่วงสองอาทิตย์แรกที่ไปถึง
- ระยะที่สอง : เริ่มคุ้นชินกับสภาพแวดล้อม สิ่งต่างๆ รอบตัว ความเหงาเริ่มครอบคลุม เริ่มจะไม่ชอบการต้องอยู่คนเดียว คิดถึงที่บ้าน คิดถึงคุณพ่อคุณแม่ คิดถึงอาหารไทย นี่ก็คืออาการเริ่มแรกของโฮมซิก หรือที่เรียกกันว่าอาการคิดถึงบ้านนั่นเอง จะเริ่มไม่ชอบเมืองที่ตัวเองอาศัยอยู่ มีทัศนคติที่ลบต่อประเทศ ผู้คนรอบๆ ตัว ระยะนี้ค่อนข้างอันตราย ถ้าพ้นจากระยะนี้ได้ก็สบาย เตรียมเป็นนักเรียนนอกได้เลย แต่ถ้าไม่สามารถรอดพ้นล่ะก็ต้องกลับประะเทศไทยแล้วล่ะ
- ระยะที่สาม : ถ้าผ่านสองระยะข้างต้นมาได้ แปลว่า น้องๆ เริ่มที่จะยอมรับ และมีการปรับตัวให้เข้ากับทุกๆ สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว มีการทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ๆ จริงจังกับการเรียน อาจจะมีการทำงานพิเศษพาร์ทไทม์ด้วย และจะเริ่มมีความสุขกับชีวิตมากขึ้น
- ระยะที่สี่ : ถ้ามาถึงระยะนี้ บางคนอาจจะไม่อยากกลับมาที่ไทยแล้ว กลายเป็นเห็นอะไรที่ไทยไม่ดีไปเสียหมด อยากอยู่ออสเตรเลียไปตลอดก็มี อย่าดีกว่านะคะ อย่าลืมว่าที่บ้านเรายังมีคุณพ่อคุณแม่รออยู่น้า!
เข้าใจธรรมเนียม ปรับตัวตามวัฒนธรรม การใช้ชีวิตแบบชาวออสซี่
การเข้าใจธรรมเนียมบางอย่างของคนออสเตรเลียก็ช่วยให้เรา เข้าใจและอยู่ในสังคมออสเตรเลียได้อย่างมีความสุข จึงมีธรรมเนียมบางอย่างที่น้องๆ ควรรู้ไว้ เช่น
- ชาวออสเตรเลียให้ความสำคัญกับคำว่า “Please” และคำว่า “Thank you” หรือพูดสั้นๆ ว่า “Ta” อย่าลืมที่จะกล่าวให้ชินนะคะ
- หากได้รับเชิญไปรับประทานอาหารที่บ้านใคร ถือเป็นธรรมเนียมที่คุณควรนำอะไรติดมือไปด้วย เช่น เครื่องดื่มสักขวด
- การมาสายถือว่าไม่สุภาพ
- ไม่มีการต่อรองราคาเมื่อซื้อของหรือนั่งแท็กซี่
- หากมีแขกมาเยี่ยมที่บ้าน ถ้ายกน้ำเปล่ามาให้ จะเป็นการเหมือนดูถูก ไม่มีมารยาท ต้องถามว่าเขาต้องการอะไร ชา กาแฟ หรือน้ำผลไม้
- ห้างสรรพสินค้าและ ร้านค้าต่างๆ จะปิดเร็วมาก บางที 6 โมงก็ปิดแล้ว และร้านอาหารจะอยู่เป็นจุดเดียวกัน แบบบ้านก็บ้านไปเลย ร้านก็อยู่รวมกัน
- คนทำงานแล้ว นักศึกษา หรือนักเรียน มักจะทำอาหารกลางวันไปกิน แล้วนั่งกินตามบริเวณเก้าอี้ริมถนน หรือสวนสาธารณะ
Tips เทคนิคในการปรับตัวง่ายๆ
- เป็นคนมองโลกในแง่บวก พยายามนึกถึงว่าเหตุใดจึงเลือกมาเรียนที่ประเทศออสเตรเลีย
- รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ มีความยืดหยุ่นในการใช้ชีวิต
- ปรึกษากับนักเรียนต่างชาติด้วยกันและเรียนรู้จากประสบการณ์ของพวกเขา เพื่อผ่อนคลายความเครียด
- หาโอกาสเข้าร่วมการเล่นกีฬาและกิจกรรมต่างๆ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
- สังเกตพฤติกรรมตลอดจนวิธีการสื่อสารของผู้อื่น และให้สอบถามหากมีข้อสงสัย
- น้องๆ มีสิทธิ์ที่จะขอคำแนะนำจากสำนักงานให้คำปรึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติ หรือขอคำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษาในสถาบันการศึกษา
สำหรับน้องๆ ที่สนใจหรือต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษใน สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ แคนาดาสหรัฐอเมริกาออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ไซปรัสและมอลต้า สามารถ ลงทะเบียนขอรับคำปรึกษาจากพี่ๆ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนต่อต่างประเทศของ SI-English ได้ฟรี ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปค่ะ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
เรียนภาษาอังกฤษที่ออสเตรเลียใน 4 เมืองยอดนิยมของเด็กไทย
ข้อแตกต่างของ Visa นักเรียน (ไปเรียนภาษา) ระหว่าง อังกฤษ(UK) ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา (2018)
คุณรู้ไหม ค่าครองชีพสำหรับนักเรียนต่างชาติใน Australia อยู่ที่ประมาณเท่าไหร่?